วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ศิลปินที่มีชื่อเสียง ของประเทศไทยและต่างประเทศ







ราฟาเอล (Raphael) เป็นจิตรกรและสถาปนิกผู้มีผลงานโดดเด่น เป็นหนึ่งในสามศิลปินผู้ยิ่งใหญ่แห่งยุคเรอเนสซองส์ต่อจากเลโอนาร์โด ดาวินชีและไมเคิลแองเจโล ราฟาเอลสร้างผลงานยิ่งใหญ่ที่พระราชวังวาติกันจำนวนมากโดยเฉพาะภาพ The School of Athens ที่ได้รับการยกย่องให้เป็นศูนย์รวมที่สมบูรณ์แบบของจิตวิญญาณแบบคลาสสิกแห่งยุคเรอเนสซองส์ รวมทั้งมีผลงานภาพเหมือนชั้นยอดที่งดงามละเมียดละไมอีกมากมาย แม้ว่าเขามีช่วงเวลาทำงานไม่มากนักเพราะมีอายุเพียง 37 ปี แต่กลับมีผลงานยิ่งใหญ่และเป็นหนึ่งในศิลปินที่ได้รับการยกย่องชื่นชมมากที่สุด

ราฟาเอล เป็นชาวอิตาลี เกิดเมื่อปี 1483 ที่เมืองอูร์บีโน เริ่มเรียนเขียนภาพกับพ่อของเขาเองที่เป็นจิตรกรราชสำนักของเจ้าเมืองอูร์บีโนก่อนจะถูกส่งไปเป็นลูกศิษย์ของ Pietro Perugino จิตรกรชื่อดังของเมืองก่อนหน้าการเสียชีวิตของทั้งแม่และพ่อเพียงไม่กี่ปี ราฟาเอลเป็นเด็กที่มีพรสวรรค์ด้านศิลปะและเรียนรู้ได้เร็ว ตอนอายุ 17 ปีเขาก็มีฝีมือเข้าขั้นมืออาชีพและเริ่มตระเวนรับงานเขียนภาพให้กับโบสถ์ต่างๆในเมืองแถบบ้านเกิด
ผลงานในช่วงแรกของอาชีพจิตรกรของราฟาเอลได้รับอิทธิพลจาก Pietro Perugino ผู้เป็นอาจารย์โดยเฉพาะภาพเขียนชิ้นสำคัญชิ้นแรกคือภาพ The Marriage of the Virgin จากนั้นเขาได้พัฒนาฝีมือที่เป็นสไตล์ของตัวเองมากขึ้น ผลงานเด่นของเขาในช่วงนี้ได้แก่ภาพ Mond Crucifixion, Three Graces และ St. Michael เป็นต้น ราฟาเอลเริ่มเขียนภาพพระแม่มารีและภาพเหมือนบุคคล เขาเริ่มมีชื่อเสียงและเป็นที่ต้องการตัวไปทำงาน

สร้างผลงานขั้นสุดยอดที่กรุงโรม
raphael-vatican-palace-01
ราวปลายปี 1508 ราฟาเอลย้ายไปอยู่ที่กรุงโรมที่ซึ่งเขาพักอาศัยไปจนตลอดชีวิตตามคำเชิญของพระสันตปาปายูลิอุสที่ 2 เขาได้รับมอบหมายให้เขียนภาพตกแต่งห้องในพระราชวังวาติกันที่ต่อมาเรียกว่า “Raphael Rooms” เป็นภาพปูนเปียก (Fresco) ขนาดใหญ่บนผนังห้องทั้งสี่ด้าน ประกอบด้วยภาพ The School of Athens ซึ่งเป็นภาพที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของเขาและได้รับการยกย่องให้เป็นศูนย์รวมที่สมบูรณ์แบบของจิตวิญญาณแบบคลาสสิกแห่งยุคเรอเนสซองส์ และอีก 3 ภาพได้แก่ภาพ Disputation of the Holy Sacrament, The Parnassus และ Cardinal and Theological Virtues ทุกภาพล้วนยิ่งใหญ่อลังการ และในช่วงเวลาเดียวกันนี้ไมเคิลแองเจโลก็ได้สร้างภาพเขียนบนเพดานโบสถ์น้อยซิสตินอันโด่งดังซึ่งมีอิทธิพลต่องานของราฟาเอลอยู่ไม่น้อย
ด้วยผลงานอันยอดเยี่ยมทำให้ราฟาเอลได้รับมอบหมายให้เขียนภาพในวาติกันเพิ่มอีกจำนวนมาก และยังได้เป็นสถาปนิกในงานสร้างมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ด้วย เขาทำงานให้กับสำนักวาติกันและงานอื่นในกรุงโรมนานถึง 12 ปี มีผลงานชั้นยอดมากมายรวมทั้งภาพ Sistine Madonna และ Transfiguration นอกจากภาพเขียนแนวศาสนาและตำนานแล้วราฟาเอลยังเขียนภาพเหมือนบุคคลได้ยอดเยี่ยมมากเช่นกัน ผลงานภาพเหมือนของเขาหลายภาพได้รับการยกย่องเป็นหนึ่งในภาพเหมือนที่ดีที่สุดในยุคนั้น โดยเฉพาะภาพ La Fornarina, La Donna Velata (The Woman with the Veil) และ Portrait of Baldassare Castiglione รวมทั้งภาพ Portrait of a Young Man ที่ถูกนาซีขโมยไปจากโปแลนด์แล้วสูญหายไปตั้งแต่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งหากภาพนี้ถูกนำมาประมูลขายตอนนี้จะมีราคาไม่ต่ำกว่า 100 ล้านดอลลาร์


(Leonardo da Vinci) เป็นชาวอิตาลี (เกิดที่เมืองวินชี วันที่ 15 เมษายน 1995 (ค.ศ. 1452) - เสียชีวิตที่เมืองออมบัวซ์ ในวันที่ 2 พฤษถาคม พ.ศ. 2062 (ค.ศ. 1519)) เป็นอัจฉริยบุคคลที่มีความสามารถหลากหลาย เป็นทั้ง สถาปนิกแบบเรอเนซองส์ นักดนตรี นักกายวิภาค นักประดิษฐ์ วิศวกร ประติมากร นักเรขาคณิต นักวาดภาพ. ดา วินชี มีงานศิลปะที่มีชื่อเสียงหลายชิ้น เช่น อาหารค่ำมื้อสุดท้าย (The Last Supper) และ โมนา ลิซ่า (Mona Lisa) งานของ ดา วินชี ยังสร้างคุณประโยชน์กับวิชากายวิภาคศาตร์ ดารมศาสตร์ รวมถึง วิศวกรรมโยธา ด้วยความที่เป็นบุรุษที่มีจิตวิญญาณที่รักในศาสตร์หลายแขนง เลโอนาร์โดทำให้เกิดจิตวิญญาณของสหวิทยาการในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ และกลายเป็นบุคคลสำคัญของยุคนั้น
เลโอนาร์โด เกิดเมื่อวันที่ 15 เมษายน โดยที่ๆเขาเกิดอยู่ห่างจากหมู่บ้านวินชี ในประเทศอิตาลี ไปราวสองกิโลเมตร บิดาชื่อนายแซร์ ปีเอโร ดา วินชี เป็นเจ้าพนักงานรับรองเอกสารของรัฐ มารดาชื่อคาตารีนา เป็นสาวชาวนา เคยมีคนอ้างว่านางคาตารีนาเป็นทาสสาวจากประเทศแถบตะวันออกในครอบครองของปีเอโร แต่ก็ไม่มีหลักฐานเด่นชัด
ในสมัยนั้นยังไม่มีมาตรฐานการเรียกชื่อและนามสกุลที่เป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลายในทวีปยุโรปทำให้ชื่อและนามสกุลของดา วินชี ที่แท้จริงคือ เลโอนาร์โด ดิ แซร์ ปีเอโร ดา วินชี ซึ่งหมายความว่า เลโอนาร์โด บุตรชายของปีเอโร แห่ง วินชี แต่เลโอนาร์โดเองก็มักจะลงลายเซ็นในงานของเขาอย่างง่ายๆว่า เลโอนาร์โด หรือไม่ก็ ข้าเอง เลโอนาร์โด เอกสารสำคัญส่วนใหญ่ระบุว่าผลงานของเขาเป็นของ เลโอนาร์โด โดยไม่มี ดา วินชี พ่วงท้าย ทำให้เข้าใจได้ว่าเขาไม่ได้ใช้นามสกุลของบิดาเนื่องจากเป็นบุตรนอกสมรสนั่นเอง


โมนาลิซ่า(Mona Lisa) หรือ ลา โฌกงด์ (La Gioconda, La Joconde) คือภาพวาดสีน้ำมัน สูง 77 เซนติเมตร กว้าง 53 เซนติเมตร 

สวัสดิ์ ตันติสุขเกิดเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2470 เป็นคนจังหวัดนครพนม (24 เมษายน พ.ศ. 2468 - 4 สิงหาคม พ.ศ. 2568) ศิลปินแห่งชาติ  สาขา ทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ประจำปี พ.ศ. 2534  ราชบัณฑิต สำนักศิลปกรรมประเภท วิจิตรศิลป์ สาขาจิตรกรรม อาจารย์สวัสดิ์เป็นศิลปินอาวุโสคนสำคัญ ผู้บุกเบิกศิลปะสมัยใหม่ของประเทศ มีผลงานจิตกรรมดีเด่นเป็นที่ยอมรับของวงการศิลปะทั้งในอดีตและปัจจุบัน ได้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะอย่างต่อเนื่องเป็นเวลายาวนานกว่า 50 ปี การบุกเบิกงานจิตกรรมที่สำคัญ คือ ได้สร้างสรรค์ผลงานจากแบบที่เป็นรูปธรรมเข้าสู่แบบนามธรรมซึ่งมีผลต่อพัฒนาการด้านจิตกรรมของศิลปินรุ่นหลังเป็นอย่างมาก ทำให้ศิลปินไทยประสบความสำเร็จในวงการศิลปะนานาชาติ และยังได้อุทิศตนให้กับการสอนและการเผยแพร่ศิลปะโบราณและสมัยใหม่ให้แก่นักศึกษาในสถาบันการศึกษาและประชาชนทั่วไป ได้ร่วมแสดงผลงานในารแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ศิลปะนานาชาติ และการแสดงศิลปะอื่นๆ มากมายจนถึงปัจจุบัน ผลงานศิลปะและวิชาการทางศิลปะเป็นประโยชน์ต่อสังคมในทางสร้างสรรค์เป็นอย่างมาก
แม้อาจารย์สวัสดิ์ ตันติสุขจะปฏิบัติงานในหน้าที่ของข้าราชการอย่างเต็มเวลา แต่ท่านก็ยังใช้เวลานอกราชการสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณภาพออกมาอย่างต่อเนื่อง ผลงานหลายชิ้นของท่านได้รับการยกย่องผ่านการประกวดในระดับชาติ ดังนี้
  • รางวัลในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ สาขาจิตรกรรม ได้รับเกียรติเป็นศิลปินชั้นเยี่ยม พ.ศ. 2498
  • รางวัลเหรียญทอง การแสดงงานจิตรกรรม เมืองราเวนนา อิตาลี พ.ศ. 2502
  • รางวัลที่ 1 ประเภทจิตรกรรมมหาวิทยาลัยแห่งกรุงโรม พ.ศ. 2503
  • รางวัลที่ 2 การแสดงศิลปะระหว่างชาติ ไซ่งอน พ.ศ. 2505
  • แสดงงานจิตรกรรมที่ได้รับเชิญจากกลุ่ม ส่วนราชการต่างๆทั้งในและต่างประเทศ










เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ (เกิด 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498) เป็นจิตรกรไทยมีผลงานจิตรกรรมไทยหลายผลงาน เช่น ภาพจิตรกรรมไทยในอุโบสถวัดพุทธประทีป กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ, เขียนภาพประกอบบทพระราชนิพนธ์ พระมหาชนก  และผลงานศิลปะที่ วัดร่องขุ่น ซึ่งมีทั้งงานสถาปัตถยกรรม, ประติมากรรมปูนปั้น และงานจิตรกรรมไทย ได้รับการยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ในปี พ.ศ. 2554


เฉลิมชัยจัดแสดงผลงานเดี่ยว และร่วมแสดงผลงานในนิทรรศการสำคัญต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ ตั้งแต่ พ.ศ. 2520 จนถึงปัจจุบัน
  • พ.ศ. 2523 เป็นประธานก่อตั้งกลุ่ม "ศิลปไทย 23" เพื่อต้านอิทธิพลศิลปะจากยุโรป อเมริกา
  • พ.ศ. 2527 เริ่มโครงการจิตรกรรมฝาผนังวัดพุทธประทีป กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และเดินทางไปเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดพุทธปทีป โดยไม่คิดค่าจ้าง
  • พ.ศ. 2539 เริ่มดำเนินการออกแบบก่อสร้างอุโบสถ วัดร่องขุ่น จังหวัดเชียงรายบ้านเกิดของตนถวายเป็นพุทธบูชาจนถึงปัจจุบัน






เฉลิม นาคีรักษ์ (21 กันยายน พ.ศ. 2460-2 ธันวาคม พ.ศ. 2545) เป็นศิลปินอาวุโสคนสำคัญด้านจิตรกรรมซึ่งเป็นที่ยอมรับนับถือในวงการศิลปะและศิลปศึกษาโดยทั่วไป เกิดเมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2460 ที่อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี มีผลงานดีเด่นทั้งในแบบศิลปะสมัยใหม่และศิลปะแบบประเพณีประยุกต์ ผลงานส่วนใหญ่เกี่ยวกับชีวิตและประเพณีไทยมีความยึดมั่นและศรัทธาในศิลปะได้สร้างสรรค์ผลงานต่อเนื่องกันมาเป็นเวลายาวนานเกือบ 50 ปี มีผลงานแพร่หลายทั้งในและต่างประเทศ เคยได้รับรางวัลในการประกวดศิลปกรรมหลายครั้งและหลายแห่ง ในด้านการถ่ายทอดวิชาความรู้ทางศิลปะนั้น เฉลิม นาคีรักษ์ ได้เป็นอาจารย์สอนวิชาศิลปะที่วิทยาลัยเพาะช่างเป็นเวลา 37 ปี มีศิษย์เป็นจำนวนมากทั่วประเทศ ได้รับราชการโดยตลอดมา จนได้รับแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการวิทยาลัยเพาะช่างและเป็นคณบดีคณะศิลปกรรมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา วิทยาเขตเพาะช่าง เมื่อเกษียณอายุราชการแล้ว ได้รับแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์พิเศษในสถาบันดังกล่าว เฉลิม นาคีรักษ์ ได้นำเอาผลงานศิลปะและวิชาการบริการแก่สังคมตลอดเวลาอันยาวนาน เป็นผู้บุกเบิกศิลปะยุคปัจจุบันคนสำคัญคนหนึ่ง นับเป็นศิลปินที่ดำรงชีพและสร้างสรรค์ผลงานศิลปะอันเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมด้วยจริยวัตรที่ดีงามและเป็นคนวาดรูปพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเจ้าอยู่หัว



งานศิลปะของเฉลิม นาคีรักษ์ โดยหลักนั้นคืองานจิตรกรรม ซึ่งมีทั้งแนวสากลสมัยใหม่และแนวประเพณีประยุกต์ ส่วนเทคนิคที่ใช้มีทั้งสีน้ำมัน สีน้ำ สีฝุ่น และสีพลาสติก ส่วนเนื้อหาและเรื่องราวที่เขียนนั้นมีหลากหลาย ตั้งแต่ภาพหุ่นนิ่ง ภาพทิวทัศน์ ภาพบุคคล และภาพเกี่ยวกับประเพณีและวัฒนธรรมไทย ซึ่งผลงานเหล่านี้ล้วนเป็นผลงานที่ดีเด่นเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป ผลงานสำคัญที่ได้สร้างสรรค์ไว้ได้แก่พระบรมสาทิศลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ตลอดจนพระมหากษัตริย์และเจ้านายในราชวงศ์จักรีอีกหลายพระองค์ ซึ่งประดิษฐานไว้ในสถานที่สำคัญต่าง ๆ หลายแห่ง ด้านการเขียนภาพสีน้ำ ก็เป็นงานที่ท่านรักและทำได้ดีเป็นพิเศษ จนได้รับคำชมเชยจากศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี งานประเภทนี้ส่วนใหญ่จะเป็นภาพทิวทัศน์ที่ต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ท่านได้เดินทางไปพบเห็นและเกิดความประทับใจ
ส่วนผลงานแนวประเพณีประยุกต์นั้น นับเป็นผลงานดีเด่นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ผลงานเหล่านี้นอกจากจะสามารถถ่ายทอดชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านในชนบทได้เป็นอย่างดีแล้ว ยังให้ความรู้สึกของความสดใสสนุกสนาน มีรายละเอียดที่ซับซ้อนน่าสนใจไปทั่วทุกตารางนิ้วของผลงาน อันเกิดจากการรวมตัวกันของแนวความคิดสร้างสรรค์ องค์ประกอบทางศิลปะ และฝีมือชั้นครูด้วย
เฉลิม นาคีรักษ์ ได้จัดแสดงผลงานเดี่ยว และส่งผลงานร่วมแสดงในงานแสดงผลงานศิลปะหลายครั้งทั้งในประเทศและต่างประเทศตั้งแต่ พ.ศ. 2483 ต่อเนื่องเรื่อยมาและได้รับรางวัลเกียรติคุณหลายครั้งอาทิ ได้รับรางวัลจิตรกรรม จากงานประกวดศิลปในงานฉลองรัฐธรรมนูญ และได้รับรางวัลในการประกวดผลงานศิลปกรรมซึ่งจัดโดยกระทรวงวัฒนธรรมแห่งชาติในสมัยที่จอมพล ป.พิบูล สงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี
ความประทับที่สำคัญที่สุดในชีวิตของเฉลิม นาคีรักษ์ คือการที่ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชในโอกาสสำคัญ 2 โอกาส ๆ แรกเข้าเฝ้าฯพร้อมคณะศิลปินเมื่อ พ.ศ. 2506 เพื่อเขียนภาพถวายให้ทอดพระเนตร และได้ร่วมโต๊ะเสวยด้วย ส่วนครั้งที่ 2 ได้ร่วมคณะไปกับอธิบดีกรมศิลปากรและอาจารย์มหาวิทยาลัยศิลปากรอีกหลายท่าน เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เพื่อถวายคำวิจารณ์ผลงานจิตรกรรมฝีพระหัตถ์ที่ทรงไว้ อันเป็นโอกาสสำคัญซึ่งท่านถือว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณและเป็นสิริมงคลสูงสุด
เฉลิม นาคีรักษ์ ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิิลป์ (ศิลปกรรม) ประจำปี พ.ศ. 2531

วันเสาร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2562


ธาลิส ( Thales ) มีการเริ่มต้นยิ่งใหญ่ในกรีก มิเลทัส ตอนเริ่มศตวรรษที่ ๖ก่อนคริสตศักราช  มิเลทัสมีอำนาจทางทะเลมีอาณานิคมล้อมรอบฝั่งทะเลดำ วางรากฐานการก่อตั้งกรีกในอียิปต์ธาเลส(Thales) เกิดก่อนพระพุทธเจ้า เป็นนักปราชญ์ รัฐบุรุษ นักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ วิศวกร ทำนายการเกิดสุริยุปราคาที่เกิดวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ก่อนพุทธศักราช ๔๒ ปี เขากล่าวว่าน้ำเป็นปฐมธาตุ โลกแบนกลมลอยในน้ำ

ทฤษฏีของ ธาเลส  น้ำเป็นสิ่งที่เห็นได้ จับต้องได้ แต่เป็นอนันต์หรือไม่มีค่าจำกัด ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ ขึ้นกับการสังเกตุและกการทดลองและผลิตผลลัพธ์  ปรัชญาขึ้นกับเหตุผลและไม่ผลิตผลลัพธ์


อแนกซีแมนเดอร์(Anaximander)เกิดราว  610 B.C.   เป็นกรีกคนแรกที่เขียนหนังสือเป็นร้อยแก้ว(prose) หนังสือเล่มนี้สูญหาย แต่ก็มีคุณค่าต่อนักปราชญ์ มักถูกใช้อ้างบ่อยๆ   คำอ้างอิงที่เกี่ย0E27กับความคิดเริ่มต้นและทั่วไปของปัญหาของอะแนกซิแมนเดอร์ที่ธาเลสยกขึ้นม่าดังนี้                                                                                                     
๑)สาเหตุของวัตถุและธาตุแรกเป็นอนันต์  สาเหตุของมวลไม่ใช่น้ำหรือธาตุอื่นแต่เป็นสาเหตุที่แตกต่างไป เป็นอนันต์ที่เกิดจากสวรรค์ทั้งหมดและโลกภายในของมัน

๒) นี่เป็นชั่วนิจนิรันดร์และไม่มีอายุที่ครอบคลุมคำทั้งหมด

๓) สิ่งที่จะเกิดขึ้นต้องผ่านการตายอีกครั้ง ทำการซ่อมแซม พอใจต่อกันตามการเรียงลำดับเวลา

๔) มีการเคลื่อนที่นิรันดร์ที่นำมาให้กำเนิดแก่โลก

๕) ไม่ได้บอกกำเนิดของสิ่งกับการเปลี่ยนแปลงในมวลสารแต่บอกว่าsubstratum แยกกันอยู่

จากคำอ้างอิงเหล่านี้มีหลายค่าที่อะแนกซิแมนเดอร์ไม่ได้ใช้ด้วยตัวเอง เขาอาจสมมุติมาจากกวี  ยากที่จะนึกภาพว่าเขาคิดได้อย่างไรถ้าไม่มาจากตัวเอง

เป็นศิษย์ธาเลส ศึกษาดาราศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ทำแผนที่โลก เผยแพร่นาฬิกาแดดแก่กรีก เขียนหนังสือปรัชญา On Nature  ซึ่งเป็นตำราเล่มแรกของกรีก  ปฐมธาตุเป็นอนันต์ ที่ไม่มีลักษณะตายตัว เป็นอะไรก็ได้หรือเป็นพลังงาน

อแนกซีเมเนส(Anaximenes) เป็นศิษย์อะแนกซิแมนเดอร์ บอกว่าน้ำและอนันต์ไม่ใช่ปฐมธาตุของโลก อากาศต่างหากเป็นปฐมธาตุ
โซคราติส (Socretis)  พ.ศ.๗๓๑๔๔ เกิดที่เอเธนส์ คิดว่าความรู้เรื่องปฐมธาตุ โลกหรือกำเนิดจักรวาลมีประโยชน์น้อยมาก  ความรู้ควรเกี่ยวกับมนุษย์และหน้าที่มนุษย์ เพราะมนุษย์สามารถนำความรู้เหล่านี้ไปปรับปรุงชีวิตให้ดีขึ้น   การค้นคว้าปรัชญามีจุดมุ่งหมายมากกว่าที่การปฎิบัติมากกว่าการสร้างทฤษฏี  ทางอภิปรัชญา เหตุผลเป็นเครื่องมือแสวงหาความรู้  เหตุผลช่วยให้ค้นหามโนภาพ ความรู้เป็นมโนภาพ มโนภาพคือความรู้จักสิ่งสากล
วิธีการของโซคราติส      เป็นศิลปะการสนทนา
๑) สงสัย (sceptical)
๒) สนทนา(conversational)
๓) หาคำจำกัดความ (defination)
๔) อุปนัย (inductiive)
๕) นิรนัย (deductiive)
ความรู้คือคุณธรรม  คนมีความรู้จะประพฤติดี เป็นคนมีเหตุผลสูง   ถูกต้องต้องทำ ในที่สุดถูกประหารชีวิต
อริสโตเติลกล่าวว่า คนที่มือถึอสาก ปากถือศีล ( Hypocite) คนมากด้วยกิเลสตัณหาเป็นพวกแพ้จิตใจที่ต่ำ  กรีกมีนักปรัชญาสำคัญที่สุดคือพลาโตและอริสโตเติล
เพลโต (Plato) พ.ศ. ๑๑๖๑๙๖ ชื่อเดิมคืออริสโตเคลอส์ (Aristocles) เกิดที่เอเธนส์ เมื่อโสเครติสถูกประหารชีวิต

เพลโตอายุ ๒๘ ปี พลาโตเห็นการเมืองเป็นเรื่องสกปรก  เขาหนีไปอยู่เมการาที่ได้พบยูคลิดส์(Euclides) ที่เป็นศิษย์ของโสเครติส   ผู้ก่อตั้งสำนักปรัชญาที่มีปรัชญาของโสเครติสกับร์มีนิเดส   พลาโตศึกษาปรัชญาและออกจากเมการาเดินทางไปไซรินี  อียิปต์ อิตาลี และซิชิลี  ศึกษาปรัชญาของพิธากอรัสที่อิตาลี ท่องต่างแดนถึง ๑๐ ปี   กลับเอเธนส์  ตั้งสำนักศึกษาแก่เยาวชนกรีก ชื่ออะคาเดมี(Academy) เปิดสอน พ.ศ. ๑๕๖ ขณะเพลโตอายุไ ๔๐ ปี นับเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของกรีก   เขาให้ความสำคัญแก่วิทยาศาสตร์    เอกลักษณ์พิเศษอยู่ที่การศึกษา วิจัยด้วยวิธีการวิทยาศาสตร์   เพลโตคิดว่านักปกครองที่ดีต้องรู้วิทยาศาสตร์และปรัชญาการเมือง   มีสำนักอิโสเครติสที่เอเธนส์  แต่ไม่เห็นประโยชน์ของวิทยาศาสตร์ เพลโตเคยพูดหัวข้อ On the good เป็นเรื่องคณิตศาสตร์และดาราศาสตร์มีศิษย์ชื่ออริสโตเติลเข้าศึกษาที่อะคาเดมี พ.ศ. ๑๗๖

เพลโตเป็นนักปรัชญาตะวันตกคนแรกที่สอนปรัชญาอย่างมีระบบ พลาโตกล่าวว่าความรู้ระดับผัสสะหรือสัญชานไม่ใช่ความรู้เป็นเพียงทัศนะ   แต่ละคนให้ความรู้ไม่ตรงกันและสัญชานไม่ช่วยให้คนเราพบความจริงแท้  ความรู้แท้จริงได้จากเหตุผล  ความรู้หมายถึงการค้นพบมโนคติ(Idea) โสเครติสกล่าว่า ความรู้หมายถึงการค้นพบมโนภาพ(Concept)   พลาโตกล่าวว่า คนค้นพบมโนคติโดยการคิดแบบวิภาษวิธี  จิตมีวิธีทำวิภาษวิธี  ที่อธิบายด้วยเส้นแบ่ง

อภิปรัชญาของเพลโตเป็นเรื่องเกี่ยวกับทฤษฏีแห่งมโนคติ และจักรวาลวิทยา  ทฤษฎีแห่งมโนคติหรือแบบของเพลโตนับเป็นการค้นพบปรัชญาที่สำคัญของเพลโต ทฤษฎีเสนอแก่นแท้หรือสาระของสรรพสิ่งต่างจากปฐมภูมิธาตุของปรัชญากรีกสมัยนั้น
อริสโตเติล ( Aristotle ) เป็นศิษย์ของพลาโต เป็นปราชญ์คนสุดท้ายของปรัชญากรีกสมัยรุ่งเรือง   หลังจากอริสโตเติลสิ้นชีวิต

ปรัชญาตะวันตกต้องรอถึง ๒๐๐๐ ปี จึงจะมีปราชญ์ที่ยิ่งใหญ่ทัดเทียมกับอริสโตเติล
อริสโตเติลเกิดพ.ศ. ๑๕๙ ที่เมืองสตาริกา  บิดาเป็นแพทย์หลวง เมื่ออายุได้ ๑๗ ปีได้ไปศึกษาในสำนักอะคาดามีของพลาโตนานถึง ๒๐ ปี อริสโตเติลตั้งสำนักของตนเองชื่อ ไลซิอัม(Lyceum) คล้ายของพลาโต  ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของตรรกศาสตร์ และสัตววิทยา   ปราชญ์ยุคหลังแบ่งงานนิพนธ์ ของอริสโตเติลเป็น ๗ หมวด

๑) หมวดตรรกศาสตร์เป็นเครื่องมือแสวงหาความรู้

๒) หมวดวิทยาศาสตร์ธรรมชาติเช่นฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สัตว์ ว่าด้วยกำเนิดสัตว์

๓) หมวดจิตวิทยา มีหนังสือว่าด้วยวิญญาณ  ว่าด้วยความฝัน

๔) หมวดอภิปรัชญา มี ๑๔ เล่ม

๕) หมวดจริยศาสตร์ มีราว ๓ เล่ม

๖) หมวดรัฐศาสตร์

ฮิปโปกราเตส(Hippocrates; ประมาณ พ.ศ. 83-166)  ได้ชื่อว่าเป็น บิดาแห่งการแพทย์ตะวันตก” และต้นตอของ คำสัตย์สาบานฮิปพอคราทีส (Hippocrates oath) ในจรรยาบรรณแพทย์ เกิดที่เกาะโคส ประเทศกรีซ
ฮิปโปกราเตสได้รับการยกย่องเป็นอย่างสูงในวงการแพทย์รุ่นโบราณ ว่าเป็นผู้รวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับวิชาการแพทย์ไว้มากกว่า 70 ชิ้นงาน โดยเฉพาะเรื่อง ฮิปโปกราเตสคอร์ปัส” (Hippogrates corpus)แต่ในภายหลังก็เป็นที่ทราบกันว่าใน 70 เรื่องนี้มีไม่กี่ชิ้นที่เขียนโดยฮิปพอคราทีสเอง แต่เชื่อว่าชิ้นงานทั้งหลายดังกล่าวเกิดจากการสะสมตำราและเอกสารในห้องสมุดของโรงเรียนแพทย์แห่งหนึ่งในสมัยนั้นซึ่งได้มาจากหลายแหล่ง เขียนโดยหลายคนที่มีความเห็นต่างๆ กัน แต่นำมารวมผิดๆ ถูกๆ ภายใต้ชื่อฮิปโปกราเตส

ฮิปโปกราเตส ได้ทำคุณประโยชน์ทางการแพทย์ไว้อย่างใหญ่หลวงโดยการรักษาคนไข้อย่างมีแบบแผน ผิดกับแพทย์ทั่วไปในสมัยนั้นที่ตั้งตนเป็นผู้มีคาถาอาคมเป็นผู้วิเศษที่เชื่อว่าการเจ็บป่วยเป็นการถูกลงโทษโดยพระเจ้าต้องรักษาด้วยพิธีกรรม แต่ฮิปโปกราเตสทีสกลับเห็นว่าเกิดจากสาเหตุทางธรรมชาติ ฮิปโปกราเตสทีสเป็นคนแรกที่ทำระเบียนบันทึกอาการและประวัติของคนไข้ วางกฎเกณฑ์วิธีการปฏิบัติตนของแพทย์กับคนไข้ ซึ่งยังคงถือปฏิบัติกันอยู่ถึงปัจจุบัน

อย่างไรก็ดีความสำเร็จของผู้เขียนรวมนิพนธ์ฮิปโปคราเตส ผู้ปฏิบัติวิชาแพทย์แบบฮิปโปกราเตส และผลงานของฮิปโปกราเตสเองถูกหลอมรวมกันไปอย่างแยกไม่ออก ทำให้มีข้อมูลตกทอดมาถึงปัจจุบันน้อยมากว่าสิ่งใดกันแน่ที่ฮิปโปกราเตสเป็นผู้คิด เขียน และทำจริงๆ แม้กระนั้นฮิปโปกราเตสก็ได้รับการยกย่องเป็นแบบอย่างของการแพทย์ในยุคโบราณ โดยเฉพาะการเป็นผู้ทำให้เกิดความก้าวหน้าอย่างมากในการศึกษาวิชาแพทย์ทางคลินิกอย่างเป็นระบบ รวบรวมวิชาแพทย์ของคำสอนการแพทย์ในอดีตเอาไว้ และสั่งสอนเวชปฏิบัติแก่แพทย์ผ่านคำปฏิญาณฮิปโปคราเตส รวมนิพนธ์ และงานชิ้นอื่นๆ

เฮโรโดตัส( Herodotus, 480 – 430 B.C)
เฮโรโดตัสผู้ซึ่ง ซิเซโร (Cicero) รัฐบุรุษชาวโรมันได้ยกย่องว่าเป็น บิดาแห่งประวัติศาสตร์” (The father of history) เป็นชาวเมือฮาลิคาเนซุส ริมฝั่งทะเลเอเชียไมเนอร์ เกิดในตระกูลผู้ดี เป็นผู้ได้รับการฝึกอบรมทางสติปัญญาดีและมีความรู้ความสามารถ ทั้งวัฒนธรรม วรรณคดี การเมือง เขาได้ส่งเสริการเขียนประวัติศาสตร์และมานุษยวิทยาเป็นอย่างมาก จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งประวัติศาสตร์อย่างที่ซิเซโรยกย่อง
จากการเข้าไปมีส่วนร่วมในการต่อต้านการปกครองรัฐบาลที่กดขี่ข่มเหงประชาชน เขาจึงถูกเนรเทศออกนอกประเทศ จากจุดนั้นเองเขาจึงได้เดินทางไปยังที่ต่าง ๆ มากมาย เช่น ฟินิเชีย อียิปต์ เกาะซิซิลี อิตาลี กรีก ฯลฯ เขาได้รับความเชื่อ คติชน ต่าง ๆ จากสถานที่ที่เข้าไปสัมผัสด้วยตนเอง และได้รวมรวมเป็นหนังสือชื่อ Historia แปลว่าการค้นคว้าวิจัย การสืบถามหาข้อมูลที่เป็นจริง หนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 9 เล่ม แบ่งเนื้อหาสาระดังนี้คือ 6 เล่มแรก กล่าวถึงเรื่องราวของเปอร์เซีย ประวัติศาสตร์อียิปต์ และการปกครองของอาณาจักรไปโอเนียน อีก 3 เล่ม กล่าวถึงสงครามระหว่างชาวกรีกกับชาวเปอร์เซีย


ทูซีดีดิส (Thucydides, 456 – 396 B.C.)

ทูซีดีดิสเป็นชาวเอเธนส์ ในตระกูลสูงและมีฐานะมั้นคง มีหน้าที่เป็นผู้บังคับบัญชากองทหารเรือช่วงที่เกิดสงครามเพโลโพนีเซียน (431 – 404 B.C.) ให้นำกองทัพเรือไปยังดินแดนแทรซ แต่เขาได้นำกองทัพเรือไปไม่ทันการณ์จึงถูกลงโทษ โดยการเนรเทศออกนอกรัฐเอเธนส์เป็นเลา 20 ปี

ทูซีดีดิสเดินทางท่องเที่ยวไปในที่ต่าง ๆ เพื่อศึกษาความรู้ละนำข้อมูลต่างๆ มาเขียนประวัติศาสตร์สงครามระหว่างเอเธนส์กับสปาร์ตา เขาสนใจอย่างมากที่จะหาข้อมูลเกี่ยวกับดินแดนของสตรูคือสปาร์ต้าให้มากที่สุด งานเขียนชิ้นสำคัญคือ The history of The Peloponnesian War. ในปีที่ 431 ก่อนคริสตกาล เขาได้รับอิทธิพลทางความคิดจากนักปรัชญากลุ่มโซฟิสต์ คือ โพรตากอรัส และ กอร์เจียส